เมนู

คาถาที่ 18


คาถาว่า สีตญฺจ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกรุงพาราณสี พระราชาพระนามว่า สีตาลุกพรหมทัต
ท้าวเธอทรงผนวชแล้ว ประทับอยู่ในกุฏิป่า ก็ครั้นประเทศนั้นหนาว ก็มี
ความหนาว เมื่อร้อน ก็มีความร้อนเท่านั้น เพราะเป็นประเทศตั้งอยู่ในที่โล่ง
ภิกษาในโคจรคามก็ไม่ได้ตามความต้องการ แม้น้ำดื่มสำหรับผู้ดื่ม ก็หาได้ยาก
แม้ลม เหลือบ สัตว์เลื้อยคลานก็เบียดเบียน พระองค์ทรงพระราชดำริดังนี้ว่า
ในที่ประมาณกึ่งโยชน์จากนี้ มีประเทศที่สมบูรณ์ อันตรายทางสรีระเหล่านั้น
แม้ทั้งหมด ย่อมไม่มีในประเทศนั้น อย่าเลย เราพึงไปในประเทศนั้น เมื่อ
อยู่เป็นผาสุก ก็อาจบรรลุสุขได้.
พระองค์ทรงมีพระราชดำริอีกว่า ธรรมดาบรรพชิตทั้งหลาย ไม่ควร
ตกอยู่ในอำนาจปัจจัย และย่อมยังจิตเห็นปานนั้นให้เป็นไปในอำนาจ จะไม่เป็น
ไปในอำนาจของจิต เราจักไม่ไปละ ครั้นทรงพิจารณาแล้ว ไม่เสด็จไป
ทรงพิจารณาจิตที่เกิดแล้วอย่างนี้ถึงสามครั้งแล้ว เสด็จกลับ ตั้งแต่นั้นก็ประทับ
อยู่ในป่านั้นเที่ยวตลอด 7 ปี ทรงปฏิบัติชอบอยู่ ทรงกระทำให้แจ้ง ซึ่ง
พระปัจเจกโพธิญาณแล้ว ตรัสอุทานคาถานี้ว่า
สีตญฺจ อุณฺหญฺจ ขุทํ ปิปาสํ
วาตาตเป ฑํสสิรึสเป จ
สพฺพานิเปตานิ อภิสมฺภวิตฺวา
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

บุคคลพึงครอบงำอันตรายเหล่านี้แม้
ทั้งปวง คือ หนาว ร้อน หิว ระหาย ลม แดด
เหลือบ และสัตว์เลื้อยคลานแล้ว พึงเที่ยวไป
ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น

ดังนี้แล้ว เสด็จไปสู่เงื้อมแห่งภูเขานันทมูลกะ.
ในคาถานั้น บทว่า สีตญฺจ ได้แก่ หนาว 2 ชนิด คือ ธาตุใน
ภายในกำเริบเป็นปัจจัย 1 ธาตุในภายนอกกำเริบเป็นปัจจัย 1. ร้อนก็เหมือนกัน.
บทว่า ฑํสา ได้แก่ แมลงสีเหลือง. บทว่า สิรึสปา ความว่า ทีฆชาติ
เหล่าใดเหล่าหนึ่งเสือกคลานไป. บทที่เหลือปรากฏชัดแล้ว. แม้คำนิคม ก็พึง
ทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล.
สีตาลุกคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ 19


คาถาว่า นาโค ว ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกรุงพาราณสี พระราชาพระองค์หนึ่ง เสวยราชสมบัติ
เป็นเวลา 20 ปี สวรรคตแล้ว ไหม้อยู่ในนรกตลอด 20 ปีเหมือนกัน เกิดใน
กำเนิดช้าง ในหิมวันตประเทศ มีขันธ์เกิดดีแล้ว มีร่างกายทั้งสิ้นมีสีเหมือน
ดอกปทุม โอฬารเป็นจ่าโขลง เป็นช้างใหญ่. ลูกช้างทั้งหลายแล ย่อมเคี้ยว
กินกิ่งไม้ที่พญาช้างนั้นหักแล้ว แม้ในเวลาก้าวลงสู่น้ำ ช้างพังทั้งหลายก็ลูบไล้
พญาช้างด้วยเปือกตม เรื่องทั้งหมดเป็นเหมือนเรื่องของพญาช้างปาลิไลยกะ
พญาช้างนั้น เบื่อหน่ายหลีกออกจากโขลง แต่นั้นโขลงช้างก็ติดตามพญาช้าง